WELCOME

    : :WELCOME TO:


    BLOCK ' S PRAEZII_HAPPII


    @ Mahasarakham University


    Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts


    In Interior Architecture


Interior Design

HOME

2553/05/12

Interior Design Ideas



2553/05/09

บ้านประหยัดพลังงาน

บ้านพักอาศัย สถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุดการออกแบบที่พักอาศัยที่เรียกว่า "บ้าน"นั้นมีการพัฒนาแตกต่างกันออกไปตามตัวแปรต่างๆ


เพื่อให้เข้ากับ"สภาวะปัญหาโลกร้อน"ในปัจจุบัน มีคำนิยม คือ " ประหยัดพลังงาน " สิ่งที่เข้าใจกันก็คือ การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีตัน แอร์เล็กลง การออกแบบผนัง ประตูหน้าต่างและหลังคาถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ในตัวบ้านน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง การพัฒนาผนังใหม่มีเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้มีการนำมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหาการประหยัดพลังงานในบ้านเรา และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการป้องกันแสงแดดโดยตรงจากความร้อนของแสงอาทิตย์ ( direct sun ) ที่เข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่งมีผลกระทบต่ออุณหภูมิในบ้านและการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับอุณหภูมิภายในบ้าน ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การออกแบบอาคารที่ใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้ความสวยงามควบคู่กับการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารหรือการถ่วยเทความร้อนออกนอกอาคาร เช่น การออกแบบชายคาที่ยาว เพื่อบังแดด, การให้มีการระบายลมและความร้อนออกจากอาคารอีกทั้งยังป้องกันการรับความร้อนจากภายนอกให้น้อยที่สุด และยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบภูมิสถาปัตย์( landscape ) โดยการจัดสรรองค์ประกอบพื้นที่ภายนอกอาคาร เพื่อป้องกันและถ่ายเทความร้อน
บ้านประหยัดพลังงานนั้นจัดแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

ประเภทที่หนึ่ง บ้านประหยัดพลังงานแบบ"ACTIVE"อาศัยการปรับอากาศและเครื่องกล) สำหรับ กรุงเทพฯ เนื่องจากมีอุณหภูมิและความชื้นที่อยู่ในช่วงสภาวะน่าสบายน่าจะมีอยู่น้อยมาก ข้อควรระวังคือถ้านำแบบบ้านแบบPASSIVEเข้ามาสร้างในบริเวณที่ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่นที่ดินขนาด50ตารางวาในย่านชุมชน แล้วต้องมาติดเครื่องปรับอากาศ ก็จะทำให้เป็นบ้านที่บริโภคพลังงานอย่างมากกว่าบ้านทั่วไปนั่นเอง

-ระบบปรับอากาศ(ระบบที่กินพลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในบ้าน) บ้านตัวอย่างในปี 2548 ที่สร้างที่แหลมฉะบัง ด้วยระบบผนัง EIFS เครื่องปรับอากาศที่ใช้ เป็น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนธรรมดาเบอร์ห้าที่ใช้กันตามบ้านทั่วไป แต่เลือกใช้เครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ 9,000 บีทียู แม้ว่าใช้จำนวนสองเครื่องแต่ผลัดกันเปิดตัวละครั้ง ดังนั้นถ้าเทียบอัตราส่วน โดยหยาบๆ หมายความว่า บ้านหลังนี้สามารถใช้ ระบบปรับอากาศประมาณ 40 ตารางเมตรต่อ ตัน นั่นเอง
-ระบบไฟฟ้าแสงสว่างเกือบทั้งหมดเป็นโคมไฟ เลือกใช้เป็นหลอดประหยัดไฟชนิดwarn light เพื่อให้มีสภาพแสงเหมือนหลอดไส้ ซึ่งนุ่มนวลมากกว่าหลอด daylight และการออกแบบโดยพยายามใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติให้มากเท่าสุดอีกแนวคิดในการออกแบบบ้านหลังนี้


ประเภทที่สอง บ้านประหยัดพลังงานแบบ"PASSIVE" (อาศัยวิธีธรรมชาติ) แนวความคิดของสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ ข้อควรระวัง คือ ถ้านำแบบบ้านแบบPASSIVEเข้ามาสร้างในบริเวณที่ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้เป็นบ้านที่บริโภคพลังงานอย่างมาก" บ้านหาร 2" คือ บ้านที่มีการใช้พลังงานน้อย โดยที่ยังคงสามารถรักษาและควบคุมสภาวะน่าสบาย ตลอดจนคุณภาพชีวิตภายในบ้านได้เป็นอย่างดี บ้านหาร 2 ทั้งอยู่สบายและประหยัดพลังงาน เพราะเน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบๆบ้าน เช่น ต้นไม้อันร่มรื่น สายลมเย็นสบาย และแสงแดดให้ความสว่าง ช่วยหารการใช้พลังงานได้อย่างมหาศาล โดยหารการใช้พลังงานด้วยกับ 3 แนวคิดง่ายๆสู่บ้าน คือ
หนึ่ง ป้องกันความร้อนให้บ้าน
สอง รู้จักใช้แสงและลมธรรมชาติ
สาม การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า
แต่ไม่หารความสะดวกสบาย

-การนำพลังงานแสดงแดดและพลังงานลม เข้ามาใช้ในครัวเรือนสำหรับบ้านเรานั้น ปัจจุบันราคาต้นทุนยังคงสูงอยู่แต่ก็หลายคนนำมาใช้ เนื่องจากพิจารณาว่าที่เป็นพลังงานสะอาด และเหมาะสมสำหรับบ้านเรา และราคาต้นทุนก็ลดลงเรื่อยๆทุกวัน
-แนวความคิดในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม การวางผังและการเลือกใช้วัสดุเป็นสิ่ที่ควรนำมาพิจารณาในขั้นต้น เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากที่สุด จึงเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญมากของอาคารประหยัดพลังงานรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอีกด้วย






Lighting Design

ฟังก์ชันของไลท์ติ้ง (lighting) ไม่ใช่แค่การให้แสงสว่าง ไลท์ติ้งที่ดีจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ และบุคลิกที่เด่นชัดให้กับอาคาร และบ่อยครั้ง ไลท์ติ้งถูกมองเป็นเฟอร์นิเจอร์อีกชิ้นหนึ่งของห้องหรืออาคารนั้นไปแล้ว งานไลท์ติ้งดีไซน์มีบทบาทมากขึ้นต่อสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน กล่าวได้ว่า


“งานสถาปัตยกรรมจะถูกต้องและดูดีขึ้นมากหากไปได้ดีกับไลท์ติ้ง”



- Lighting & Building
ตอนกลางวันพยายามให้แสงน้อยที่สุดเพื่อทำให้ตัวตึกดูขาวบริสุทธิ์ แต่ในยามค่ำคืนใช้ไลท์ติ้งทำให้อาคารดูเหมือน “โคมไฟดวงใหญ่” ด้วยเทคนิคการแสงสว่างฟุ้งออกมาจากภายใน มากกว่าการเอาไฟไปติดไว้ภายนอกอาคาร นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้เห็นรายละเอียดของเฟอร์นิเจอร์ภายใน และชั้น (layer) ของสถาปัตยกรรมได้ชัดเจนด้วย


- Lighting & Lobby
เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกโดดเด่น ในบริเวณนี้ ใช้เทคนิคโดยการให้แสงไฟสาดส่องมาจากเบื้องหลังของลูกค้า หรืออย่างทางเดินเข้า lobbyให้แสงเหมือนแคตวอล์ก


- Lighting & Restaurant–Pub/Bar
เทคนิคของไลท์ติ้งที่ดี คือทำให้ลูกค้ารู้สึกดี ดูดีขึ้น และกระตุ้นให้ลูกค้าอยากใช้จ่ายหรือใช้เวลาในร้านมากขึ้น เคล็ดลับคือ “ในร้านอาหาร ควรจะให้เงามากพอๆ กับการให้แสง” โดยเฉพาะไลท์ติ้งในผับบาร์ เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกเซ็กซี่ ลึกลับ และน่าค้น โดยเลือกให้แสงที่ทางเข้า เพื่อทำให้เห็นว่าใครกำลังเข้ามา หรืออะไรกำลังเกิดขึ้น ให้แสงที่โต๊ะเพื่อทำให้โต๊ะเป็นเสมือนเวที และทำให้หน้าลูกค้าผ่องขึ้น ขณะที่บริเวณอื่นอาจให้แสงเพียงเล็กน้อย


- Lighting & Boutique Retail

ไลท์ติ้งก็ต้องทำให้เสื้อผ้านั้นดูเหมือนงานศิลปะ ดูสวยงาม มีคุณค่า และน่าเป็นเจ้าของ โดยแสงสีที่จะให้จะต้องเข้ากับสี และทำให้ลวดลายของเสื้อผ้าดูโดดเด่นขึ้น ขณะเดียวกันไลท์ติ้งที่ดียังต้องทำให้นักช้อปรู้สึกดี ดูมีสง่า และเชื่อว่าตัวเองเหมาะกับเสื้อผ้าที่โชว์

นอกจากนี้ ไลท์ติ้งควรทำให้ดูสะอาดตา น่าเดิน และไม่สับสน

- ไฟหรือดวงไฟ ไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะบนเพดานหรือฝาผนัง แต่อาจมาจากพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ก็ได้
- การใช้แสงดวงเล็กๆ จากแสงเทียน หรือดวงไฟเล็กๆ จำนวนมากๆ จะให้ความรู้สึกของการเฉลิมฉลองได้
- ถ้ามีทางเดินยาว ไลท์ติ้งที่เหมือนการจัดแสงของเวทีหรือแคตวอล์กจะช่วยทำให้ผู้ที่เดินเข้ามาดูน่าสนใจ และทำให้เกิด sense of arrival คือ คนที่เข้ามาใหม่จะรู้สึกว่าตัวเองสำคัญ และได้รับการเอาใจใส่
- texture ของตะเกียงสามารถสร้างลวดลายให้กับเงา (texture of shadow) ที่น่าสนใจบนผนังได้

2553/05/06

สีบ้านถูกโฉลก


สีที่ใช้ทาบ้านนั้น นอกจากจะทำให้บ้านสวยงามและโดดเด่นแล้ว ตามหลักทางเคหะศาสตร์โดยทั่วไปยังได้กล่าวเอาไว้ว่า หากเป็นสีที่ถูกโฉลกกับวันเกิดของเจ้าของบ้านด้วยก็จะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคล และนำโชคลาภมากมายสู่ผู้อาศัย


คนเกิดวันอาทิตย์

สีแดงสดแต่ห้ามใข้เป็นสีบ้านหรือสีห้องนอน บ้านของคนที่เกิดวันอามทิตย์จะต้องเป็นไม้สีแดงหรือสีขาวสว่าง ห้องนอนควรใช้สีควันบุหรี่ สีขาว ถ้าฝาผนังเป็นไม้เป็นอิฐ ควรแต่งห้องด้วยผ้าม่านสีขาวหรือมีลูกไม้


คนเกิดวันจันทร์

ชอบความสงบ มีเสน่ห์ ควรใข้สีน้ำเงิน สีฟ้าอ่อน หรือสีเหลืองอ่อนๆ โดยเฉพาะหากประตูบ้านเป็นสีทองจะยิ่งเสริมความโดดเด่นให้มากขึ้น ห้องนอนควรเป็นสีเหลืองนวล สีครีม และสีเขียวอ่อนปนขาว ห้ามใช้สีสดเป็นอันขาด


คนเกิดวันอังคาร

ควรใข้ใส่เทา สีฟ้าอ่อน เพราะเป็นคนค่อนข้างใจร้อน นอกจากนี้คนเกิดวันอังคารควรให้ความสำคัญกับห้องนอน เพราะห้องนอนจะเป็นที่เสริมดวงชะตาอย่างมาก ควรใข้สีเขียวอ่อนๆ สีฟ้าอ่อนๆ ให้มีความอ่อนโยนและมีความสงย


คนเกิดวันพุธ

พุธกลางวัน ควรใข้สีฟ้า สีแดง แสด ขาวและดำ ตกแต่งบ้าน ควรทาทั้งนอกและในบ้าน รวมไปถึงห้องนอนและห้องอื่นๆ ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

พุธกลางคืน ควรใช้ สีฟ้า ชมพู เทา เขียวอ่อนและขาวนวล ให้ความรู้สึกนุ่มนวลและผ่อนคลาย


คนเกิดวันพฤหัส

ควรใช้สีเอิร์ทโทนมากเป็นอันดับแรกหรือสีน้ำตาล เป็นสีบ้านไม้ธรรมชาติ ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นควรใข้สีส้มอ่อน สีพีชหรือสีฟ้าอ่อนๆ สีเหลืองครีมและสีขาว


คนเกิดวันศุกร์

สีอ่อนๆ เช่น สีขาว สีควันบุหรี่ หรือสีส้มอ่อน สีเขียวอ่อนๆทาภายนอก ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นควรใช้สีพีชหรือสีเขียวอ่อน สีขาว ส่วนสีฟ้าอ่อน และสีเหลืองคีม และสีส้มเหมาะเป็นม่านหน้าต่างและเครื่องประดับภายในห้อง


คนเกิดวันเสาร์

สีอ่อนๆ เช่น สีขาว สีควันบุหรี่หรือสีเขียวอ่อนๆ ห้ามใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินเพราะจะทำให้รู้สึกไม่สงบ ควรเลือกสีเขียวอ่อนๆเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจาเป็นภายนอกหรือภายใน คนวันเสาร์เป็นคนชอบพบปะผู้คนดังนั้นห้องต่างๆอาจมีหลากหลายสีได้เข่นกัน

2553/04/28

บ้านสุขภาพดี

เทคนิคง่ายๆ ในการออกแบบบ้านสุขภาพดี
บ้านสุขภาพดีในที่นี้ไม่ถึงขั้นต้องสร้างบ้านด้วยดิน หินหรืออยู่ท่ามกลางป่าเขาหรือสร้างบ้านขึ้นมาใหม่ เพียงเริ่มต้นจากการออกแบบให้อยู่สบายเป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม โดยการนำพลังงานธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีการก่อสร้างที่ปลอดภัยมั่นคงโดยไม่ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดมลพิษในด้านต่างๆและสิ่งสำคัญจะต้องเอื้ออาทรต่อผู้อยู่อาศัย จึงทำให้ร่างกายและจิตใจอิ่มเอิบก่อให้เกิดความกระตือรือร้นและอาศัยมีความสุขอย่างแท้จริง


องค์ประกอบของบ้านสุขภาพดี
  • อากาศบริสุทธิ์ การได้ร่างกายของคุณนั้นได้รับอากาศบริสุทธิ์ ทำให้ผู้อยู่อาศัยลดทอนความเสี่ยงจากโรคต่างๆและจะรู้สึกสดชื่น การเลือกใช้วัสดุควรใช้วัสดุจากธรรมชาติแทนวัสดุสังเคราะห์ เช่น ใช้ผ้าฝ้ายธรรมชาติแทนผ้าใยสังเคราะห์ และใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ปราศจากสารพิษ

  • เปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสว่างภายในบ้าน เป็นการช่วยลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า เป็นการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การออกแบบควรให้มีช่องเปิดในบางจุด ไม่ควรปิดบังหน้าต่างจนมิดชิดด้วยผ้าม่านหนามากนัก ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุควรใช้วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ความเป็นส่วนของผู้อาศัย

  • เปิดรับประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและระบายอากาศ เป็นการลดสิ่งแปลกปลอมและมลพิษภายในบ้าน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อาศัย การออกแบบควรให้มีช่องเปิดในบริเวณที่มีการสะสมของเชื้อโรคและความอับชื้นได้ง่าย

  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว สีเขียวสดใสของต้นไม้ทำให้มีให้ชีวิตชีวาและยังช่วยลดมลพิษทางอากาศภายในบ้าน การเลือกต้นไม้มาประดับตกแต่งให้เหมาะสมนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่ความแปลกและราคา ดังนั้นจึงควรเลือกต้นไม้ที่เหมาะสม สวยงามและดูแลได้ง่าย

  • พื้นที่ชำระจิตใจ เพื่อคิดไตร่ตรองและปรับสภาพจิตของผู้อาศัย การจัดสันพื้นที่การใช้สอยของบ้านให้เหมาะสมยังควรมีพื้นที่สงบเงียบเพื่อปรับสภาพจิตใจให้ผ่อนคลาย

  • การตกแต่งอย่างเรียบง่าย บ้านไม่เพียงแต่มีมุมมองที่สวย สบายตาแล้ว ควรดูแลรักษาง่าย จะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตทำให้รู้สึกโล่งและปลอดโปร่งแจ่มใส การเลือกของตกแต่งบ้านจึงไม่ควรมีความพิสดารเกินเหตุ มีจำนวนน้อยชิ้น ทำให้สะดวกต่อการจัดวางและการโยกย้าย

  • ตกแต่งให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ เพื่อการใช้สอยที่สะดวก ไม่ทำลายสุขภาพ การกำหนดสัดส่วนของเครื่องเรือนจึงต้องมีขนาดที่เหมาะสม เช่น ตู้เก็บของควรมีความสูงพอเหมาะที่จะเอื้อมหรือก้มหยิบของได้โดยสะดวก

  • สีสันของบ้าน ส่งผลต่อจิตใจและให้ความรู้สึงที่แตกต่างกัน การเลือกสีของบ้านจึงควรเลือกใช้สีที่เหมาะสมต่ออารมณ์ของห้อง สีโทนอ่อนและสีโทนเย็นเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะทำให้ผู้อาศัยรู้สึกเย็น สบายตา ทำให้ห้องแลดูสว่าง สะอาด โล่งกว้างขึ้น

  • พลังธรรมชาติ ความสงบปราศจากเสียงรบกวน หากจะมีเสียงควรเป็นเสียงจากธรรมชาติที่ให้ความรื่นรมย์ การออกแบบควรเพิ่มเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง ใบไม้ไหวหรือเสียงน้ำรินไหล หรือ เพิ่มกลิ่นหอมของพืชพรรณดอกไม้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อาศัยรู้สึกสงบและผ่อนคลายได้ดี