WELCOME

    : :WELCOME TO:


    BLOCK ' S PRAEZII_HAPPII


    @ Mahasarakham University


    Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts


    In Interior Architecture


Interior Design

HOME

2553/05/09

บ้านประหยัดพลังงาน

บ้านพักอาศัย สถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุดการออกแบบที่พักอาศัยที่เรียกว่า "บ้าน"นั้นมีการพัฒนาแตกต่างกันออกไปตามตัวแปรต่างๆ


เพื่อให้เข้ากับ"สภาวะปัญหาโลกร้อน"ในปัจจุบัน มีคำนิยม คือ " ประหยัดพลังงาน " สิ่งที่เข้าใจกันก็คือ การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีตัน แอร์เล็กลง การออกแบบผนัง ประตูหน้าต่างและหลังคาถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ในตัวบ้านน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง การพัฒนาผนังใหม่มีเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้มีการนำมาเผยแพร่ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหาการประหยัดพลังงานในบ้านเรา และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการป้องกันแสงแดดโดยตรงจากความร้อนของแสงอาทิตย์ ( direct sun ) ที่เข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่งมีผลกระทบต่ออุณหภูมิในบ้านและการเพิ่มการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับอุณหภูมิภายในบ้าน ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การออกแบบอาคารที่ใช้ความรู้ทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้ความสวยงามควบคู่กับการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคารหรือการถ่วยเทความร้อนออกนอกอาคาร เช่น การออกแบบชายคาที่ยาว เพื่อบังแดด, การให้มีการระบายลมและความร้อนออกจากอาคารอีกทั้งยังป้องกันการรับความร้อนจากภายนอกให้น้อยที่สุด และยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบภูมิสถาปัตย์( landscape ) โดยการจัดสรรองค์ประกอบพื้นที่ภายนอกอาคาร เพื่อป้องกันและถ่ายเทความร้อน
บ้านประหยัดพลังงานนั้นจัดแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ

ประเภทที่หนึ่ง บ้านประหยัดพลังงานแบบ"ACTIVE"อาศัยการปรับอากาศและเครื่องกล) สำหรับ กรุงเทพฯ เนื่องจากมีอุณหภูมิและความชื้นที่อยู่ในช่วงสภาวะน่าสบายน่าจะมีอยู่น้อยมาก ข้อควรระวังคือถ้านำแบบบ้านแบบPASSIVEเข้ามาสร้างในบริเวณที่ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่นที่ดินขนาด50ตารางวาในย่านชุมชน แล้วต้องมาติดเครื่องปรับอากาศ ก็จะทำให้เป็นบ้านที่บริโภคพลังงานอย่างมากกว่าบ้านทั่วไปนั่นเอง

-ระบบปรับอากาศ(ระบบที่กินพลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในบ้าน) บ้านตัวอย่างในปี 2548 ที่สร้างที่แหลมฉะบัง ด้วยระบบผนัง EIFS เครื่องปรับอากาศที่ใช้ เป็น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนธรรมดาเบอร์ห้าที่ใช้กันตามบ้านทั่วไป แต่เลือกใช้เครื่องที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ 9,000 บีทียู แม้ว่าใช้จำนวนสองเครื่องแต่ผลัดกันเปิดตัวละครั้ง ดังนั้นถ้าเทียบอัตราส่วน โดยหยาบๆ หมายความว่า บ้านหลังนี้สามารถใช้ ระบบปรับอากาศประมาณ 40 ตารางเมตรต่อ ตัน นั่นเอง
-ระบบไฟฟ้าแสงสว่างเกือบทั้งหมดเป็นโคมไฟ เลือกใช้เป็นหลอดประหยัดไฟชนิดwarn light เพื่อให้มีสภาพแสงเหมือนหลอดไส้ ซึ่งนุ่มนวลมากกว่าหลอด daylight และการออกแบบโดยพยายามใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติให้มากเท่าสุดอีกแนวคิดในการออกแบบบ้านหลังนี้


ประเภทที่สอง บ้านประหยัดพลังงานแบบ"PASSIVE" (อาศัยวิธีธรรมชาติ) แนวความคิดของสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ ข้อควรระวัง คือ ถ้านำแบบบ้านแบบPASSIVEเข้ามาสร้างในบริเวณที่ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้เป็นบ้านที่บริโภคพลังงานอย่างมาก" บ้านหาร 2" คือ บ้านที่มีการใช้พลังงานน้อย โดยที่ยังคงสามารถรักษาและควบคุมสภาวะน่าสบาย ตลอดจนคุณภาพชีวิตภายในบ้านได้เป็นอย่างดี บ้านหาร 2 ทั้งอยู่สบายและประหยัดพลังงาน เพราะเน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบๆบ้าน เช่น ต้นไม้อันร่มรื่น สายลมเย็นสบาย และแสงแดดให้ความสว่าง ช่วยหารการใช้พลังงานได้อย่างมหาศาล โดยหารการใช้พลังงานด้วยกับ 3 แนวคิดง่ายๆสู่บ้าน คือ
หนึ่ง ป้องกันความร้อนให้บ้าน
สอง รู้จักใช้แสงและลมธรรมชาติ
สาม การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า
แต่ไม่หารความสะดวกสบาย

-การนำพลังงานแสดงแดดและพลังงานลม เข้ามาใช้ในครัวเรือนสำหรับบ้านเรานั้น ปัจจุบันราคาต้นทุนยังคงสูงอยู่แต่ก็หลายคนนำมาใช้ เนื่องจากพิจารณาว่าที่เป็นพลังงานสะอาด และเหมาะสมสำหรับบ้านเรา และราคาต้นทุนก็ลดลงเรื่อยๆทุกวัน
-แนวความคิดในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม การวางผังและการเลือกใช้วัสดุเป็นสิ่ที่ควรนำมาพิจารณาในขั้นต้น เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากที่สุด จึงเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญมากของอาคารประหยัดพลังงานรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอีกด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น